วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ส่งงานมหาลัยที่น่าสนใจ

ส่งงานมหาลัยที่น่าสนใจ

ส่งงานจังหวัดที่น่าสนใจ

ส่งงานสาระกาเรียนรู้

·สาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์
·สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
·สาระที่ 2 การวัด
·สาระที่ 3 เรขาคณิต
·สาระที่ 4 พีชคณิต
·สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
·สาระที่ 6 ทักษะ/กระบวนการ
·มาตรฐานการเรียนรู้
·มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
·มาตรฐาน ค 1.2 เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่างๆ และสามารถใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหาได้
·มาตรฐาน ค 1.3 ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหาได้
·มาตรฐาน ค 1.4 เข้าใจในระบบจำนวนและสามารถนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้ได้
·มาตรฐาน ค 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด
·มาตรฐาน ค 2.2 วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัดได้
·มาตรฐาน ค 2.3 แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัดได้
·มาตรฐาน ค 3.1 อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติได้
·มาตรฐาน ค 3.2 ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning)
และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model)
ในการแก้ปัญหาได้
·มาตรฐาน ค 4.1 อธิบายและวิเคราะห์แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์ และฟังก์ชันต่าง ๆ ได้
·มาตรฐาน ค 4.2 ใช้นิพจน์ สมการ อสมการ กราฟ และแบบจำลองทางคณิตศาสตร์อื่น ๆ แทนสถานการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนแปลความหมายและนำไปใช้แก้ปัญหาได้

·มาตรฐาน ค 5.1 เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้
·มาตรฐาน ค 5.2 ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุสมผล
·มาตรฐาน ค 5.3 ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาได้
·มาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา
·มาตรฐาน ค 6.2 มีความสามารถในการให้เหตุผล
·มาตรฐาน ค 6.3 มีความสามารถในการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ
·มาตรฐาน ค 6.4 มีความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์และ
·เชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ ได้
·มาตรฐาน ค 6.5 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์














สาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์
·สาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 60 ชั่วโมง
·สาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 80 ชั่วโมง
·สาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 80 ชั่วโมง
·สาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 100 ชั่วโมง
·สาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 100 ชั่วโมง
·สาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 100 ชั่วโมง
·สาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 120 ชั่วโมง
·สาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 120 ชั่วโมง
·สาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 120 ชั่วโมง
·สาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 (รายภาค)
·- ชีววิทยา 1.5 หน่วยกิต
·- ฟิสิกส์ 2 หน่วยกิต
·- โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ 1 หน่วยกิต












กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
·ทำไมต้องเรียนภาษาไทย
·ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและ
·เสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความ
·เข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุระการงานและดำรงชีวิตร่วมกันในสังคม
·ประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุข และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูล
·สารสนเทศต่างๆ เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
·ทางสังคมและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มี
·ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อแสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณี
·และสุนทรียภาพเป็นสมบัติล้ำค่าควรแก่การเรียนรู้และอนุรักษ์และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป
·เรียนรู้อะไรในภาษาไทย
·ภาษาไทยเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้ภาษาเพื่อให้สามารถสื่อสารได้
·อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริง
· การอ่าน การอ่านออกเสียงคำ ประโยค การอ่านบทร้อยแก้ว คำประพันธ์ชนิดต่างๆ
·การอ่านในใจ เพื่อสร้างความเข้าใจ และการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้จากสิ่งที่อ่านเพื่อนำไปปรับ
·ใช้ในชีวิตประจำวัน
· การเขียน การเขียนสะกดตามอักขรวิธี การเขียนสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำ และรูปแบบต่างๆ ของ
·การเขียนซึ่งรวมถึงการเรียงความ ย่อความ เขียนรายงานชนิดต่างๆ การเขียนตามจินตนาการ วิเคราะห์วิจารณ์และ
·เขียนเชิงสร้างสรรค์
· การฟัง การดู และการพูด การฟัง และดูอย่างมีวิจารณญาณ การพูดแสดงความคิดเห็น
·ความรู้สึกพูดลำดับเรื่องราวต่างๆ อย่างเป็นเหตุเป็นผล การพูดในโอกาสต่างๆ ทั้งเป็นแบบเป็นทางการ
·และไม่เป็นทางการ และการพูดเพื่อโน้มน้าวใจ
· หลักการใช้ภาษาไทย ธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของภาษาไทย การใช้ภาษาให้ถูกต้อง
·เหมาะสมกับโอกาส และบุคคล การแต่งบทประพันธ์ประเภทต่างๆ อิทธิพลของภาษาต่างประเทศ
·ในภาษาไทย
· วรรณคดีและวรรณกรรม วิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อศึกษาข้อมูล แนวความคิด
·และความเพลิดเพลิน เรียนรู้ทำความเข้าใจบทเห่ร้องเล่นของเด็ก เพลงพื้นบ้านที่เป็นภูมิปัญญา มีคุณค่า
·ของไทย ซึ่งได้ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี เรื่องราวของสังคมในอดีต และ
·ความงดงามของภาษาเพื่อให้เกิดความซาบซึ้งและภูมิใจในบรรพบุรุษที่ได้สั่งสมสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
·คุณภาพของผู้เรียน
·จบชั้นประถมศึกษาปีที่
· อ่านออกเสียงคำ คำคล้องจอง ข้อความ เรื่องสั้นๆ และบทร้อยกรองง่ายๆ ได้ถูกต้อง
·คล่องแคล่ว เข้าใจความหมายของคำ และข้อความที่อ่าน สามารถตั้งคำถามเชิงเหตุผล ลำดับเหตุการณ์
·คาดคะเนเหตุการณ์ สรุปความรู้ข้อคิดจากเรื่องที่อ่าน ปฏิบัติตามคำสั่ง คำอธิบายจากเรื่องที่อ่านได้ เข้าใจ
·ความหมายของข้อมูลจากแผนภาพ แผนที่และแผนภูมิ อ่านหนังสืออย่างสม่ำเสมอ มีสุขนิสัยที่ดีและมี
·มารยาทในการอ่าน
· คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด เขียนบรรยาย บันทึกประจำวันเขียนจดหมายลาครู เขียน
·เรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์เขียนเรื่องตามจินตนาการ มีสุขนิสัยที่ดี และมีมารยาทในการเขียน
· สามารถเล่ารายละเอียดและบอกสาระสำคัญตั้งคำถาม ตอบคำถามรวมทั้งพูดแสดงความคิด
·ความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู พูดสื่อสารเล่าประสบการณ์ และพูดแนะนำ หรือพูดเชิญชวนให้ผู้อื่นปฏิบัติ
·ตามรวมทั้งมีสุขนิสัยที่ดีและมีมารยาทในการฟังดูและพูด
· สะกดคำและเข้าใจความหมายของคำ ความแตกต่างของคำและพยางค์หน้าที่ของคำ
·ในประโยค มีทักษะในการใช้พจนานุกรมในการค้นหาความหมายของคำ สามารถแต่งประโยคง่ายๆ
·แต่งคำคล้องจอง แต่งคำขวัญ และเลือกใช้ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่นได้เหมาะสมกับกาลเทศะ
· เข้าใจและสามารถสรุปข้อคิดที่ได้จากการอ่านวรรณคดีและวรรณกรรม แสดงความ
·คิดเห็นวรรณคดีที่อ่าน รู้จักเพลงพื้นบ้าน เพลงกล่อมเด็ก ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่น ร้องบทร้องเล่น
·สำหรับเด็กในท้องถิ่น ท่องจำบทอาขยานและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจได้
·จบชั้นประถมศึกษาปีที่
· อ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว และบทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะได้ถูกต้อง อธิบายความหมาย
·โดยตรง และความหมายโดยนัยของคำ ประโยค ข้อความสำนวนโวหารจากเรื่องที่อ่าน เข้าใจคำแนะนำ
·คำอธิบายในคู่มือต่างๆ สามารถแยกแยะข้อคิดเห็นและข้อเท็จจริง รวมทั้งจับใจความสำคัญของเรื่อง
·ที่อ่านและนำความรู้ความคิดจากเรื่องที่อ่านไปตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตได้ มีมารยาทและมี
·นิสัยรักการอ่านเห็นคุณค่าสิ่งที่อ่าน
· คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด เขียนสะกดคำ แต่งประโยคและเขียน
·ข้อความตลอดจนเขียนสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำชัดเจนเหมาะสม ใช้แผนภาพ โครงเรื่องและแผนภาพ
·ความคิดเพื่อพัฒนางานเขียน เขียนย่อความ เรียงความ เขียนจดหมายส่วนตัว กรอกแบบรายการต่างๆ
·รวมทั้งเขียนแสดงความรู้สึกและความคิดเห็นเขียนเรื่องตามจินตนาการอย่างสร้างสรรค์และมีมารยาท
·ในการเขียน
· พูดแสดงความรู้ ความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู เล่าเรื่องย่อหรือสรุปจาก เรื่องที่ฟังและดู
·ตั้งคำถาม ตอบคำถามจากเรื่องที่ฟังและดูรวมทั้งประเมินความน่าเชื่อถือจากการฟังและดู โฆษณาอย่างมี
·เหตุผล พูดตามลำดับขั้นตอนเรื่องต่างๆอย่างชัดเจน พูดรายงานหรือประเด็นค้นคว้าจากการฟัง การดู
·การสนทนาและพูดโน้มน้าวได้อย่างมีเหตุผล รวมทั้งมีมารยาทในการ ดูและพูด
· สะกดคำและเข้าใจความหมายของคำ สำนวน คำพังเพยและสุภาษิต รู้และเข้าใจชนิดและ
·หน้าที่ของคำในประโยค ชนิดของประโยค และคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย ใช้คำราชาศัพท์และ
·คำสุภาพได้เหมาะสม และสามารถแต่งประโยค แต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสี่กลอนสุภาพ และ
·กาพย์ยานี ๑๑
· เข้าใจและเห็นคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านสามารถเล่านิทานพื้นบ้าน
·ร้องเพลงพื้นบ้านของท้องถิ่นสามารถนำข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่านไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
·และสามารถท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดได้
·จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่
· อ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว และบทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะได้ถูกต้อง เข้าใจความหมาย
·โดยตรงและความหมายโดยนัยสามารถจับใจความสำคัญและรายละเอียดของสิ่งที่อ่าน แสดงความ
·คิดเห็นและข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านและเขียนกรอบแนวคิด ผังความคิด เขียนย่อความ เขียน
·รายงานจากสิ่งที่อ่านได้ วิเคราะห์ วิจารณ์ อย่างมีเหตุผล การลำดับความอย่างมีขั้นตอนและความเป็นไป
·ได้ของเรื่องที่อ่านประเมินความถูกต้องของข้อมูลที่ใช้สนับสนุนในเรื่องที่อ่าน
· เขียนสื่อสารด้วยลายมือที่อ่านง่ายชัดเจน ใช้ถ้อยคำได้ถูกต้องเหมาะสมตามระดับภาษา
·เขียนคำขวัญ คำคม คำอวยพรในโอกาสต่างๆ โฆษณา คติพจน์ สุนทรพจน์ ชีวประวัติ อัตชีวประวัติและ
·ประสบการณ์ต่าง เขียนย่อความ เขียนจดหมายกิจธุระ แบบกรอกสมัครงาน เขียน วิเคราะห์ วิจารณ์
·และแสดงความรู้ความคิดหรือโต้แย้งอย่างมีเหตุผล ตลอดจนเขียนรายงานการศึกษาค้นคว้า และเขียน
·โครงงาน
· พูดแสดงความคิดเห็น วิเคราะห์ วิจารณ์ประเมินสิ่งที่ได้จากการฟังและดู นำข้อคิดไป
·ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน พูดรายงานเรื่องหรือประเด็นที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบมี
·ศิลปะในการพูด พูดในโอกาสต่างๆได้ตรงตามวัตถุประสงค์และพูดโน้มน้าวอย่างมีเหตุผลน่าเชื่อถือ
·รวมทั้งมีมารยาทในการฟังดูและพูด
· เข้าใจและใช้คำราชาศัพท์ คำบาลีสันสกฤต คำภาษาต่างประเทศอื่นๆ คำทับศัพท์
·และศัพท์บัญญัติในภาษาไทย วิเคราะห์ความแตกต่างในภาษาพูด ภาษาเขียน โครงสร้าง
·ของประโยครวม ประโยคซ้อน ลักษณะภาษาที่เป็นทางการ กึ่งทางการและไม่เป็นทางการและสามารถ
·แต่งบทร้อยกรองประเภท กลอนสุภาพ กาพย์และโครงสี่สุภาพ
· สรุปเนื้อหาวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน วิเคราะห์ตัวละครสำคัญ วิถีชีวิตไทยและคุณค่า
·ที่ได้รับจากวรรณคดีวรรณกรรมและบทอาขยานพร้อมทั้งสรุปความรู้ข้อคิดเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
·จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่
· อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะได้ถูกต้อง เข้าใจและสามารถ
·ตีความแปลความและขยายความเรื่องที่อ่านได้ วิเคราะห์ วิจารณ์เรื่องที่อ่าน แสดงความคิดเห็นโต้แย้ง
·และเสนอความคิดใหม่จากการอ่านอย่างมีเหตุผล คาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่านเขียนกรอบแนวคิด
·ผังความคิด เขียนบันทึก เขียนย่อความ และเขียนรายงานจากสิ่งที่อ่าน สังเคราะห์ประเมินค่าและนำ
·ความรู้ความคิดจากการอ่านมาพัฒนาตน พัฒนาการเรียนและพัฒนาความรู้ทางอาชีพและนำความรู้
·ความคิดไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีมารยาทและมีนิสัยรักการอ่าน
· สามารถเขียนสื่อสารในรูปแบบต่างๆโดยใช้ภาษาได้ถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์เขียนย่อ
·ความจากสื่อที่มีรูปแบบและเนื้อหาที่หลากหลาย เขียนเรียงความแสดงแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้
·โวหารต่างๆ เขียนบันทึก รายงานการศึกษาค้นคว้าตามหลักการเขียนทางวิชาการ มีการใช้ข้อมูล
·สารสนเทศในการอ้างอิง ผลิตผลงานของตนเองในรูปแบบต่างๆ ทั้งสารคดีและบันเทิงคดี รวมทั้ง
·ประเมินงานเขียนของผู้อื่นและนำมาพัฒนางานเขียนของตนเอง
· ตั้งคำถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู มีวิจารณญาณในการเลือกเรื่อง
·ที่ฟังและดู วิเคราะห์วัตถุประสงค์แนวคิด การใช้ภาษา ความน่าเชื่อถือของเรื่องที่ฟังและดู ประเมินสิ่ง
·ที่ฟังและดูแล้วนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต มีทักษะการพูดในโอกาสต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการและ
·ไม่เป็นทางการโดยใช้ภาษาที่ถูกต้อง พูดแสดงทรรศนะ โต้แย้ง โน้มน้าว และเสนอแนวคิดใหม่อย่างมี
·เหตุผล รวมทั้งมีมารยาทในการฟังดูและพูด
· เข้าใจธรรมชาติของภาษา อิทธิพลของภาษา และลักษณะของภาษาไทย ใช้คำ และกลุ่มคำ
·สร้างประโยคได้ตรงตามวัตถุประสงค์ แต่งคำประพันธ์ประเภท กาพย์ โคลง ร่ายและฉันท์ ใช้ภาษาได้
·เหมาะสม กับกาลเทศะและใช้คำราชาศัพท์และคำสุภาพได้อย่างถูกต้องวิเคราะห์หลักการสร้างคำใน
·ภาษาไทย อิทธิพลของภาษต่างประเทศในภาษาไทยและภาษาถิ่น และวิเคราะห์ประเมินการใช้ภาษา
·จากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
· วิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม ตามหลักการวิจารณ์วรรณคดีเบื้องต้น
·รู้และเข้าใจลักษณะเด่นของวรรณคดี ภูมิปัญญาทางภาษาและวรรณกรรมพื้นบ้านเชื่อมโยง
·กับการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และวิถีไทย สามารถประเมินคุณค่าด้านวรรณศิลป์และนำข้อคิดจาก
·วรรณคดีและวรรณกรรมนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง__
สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ช่วงชั้นที่ 4
มาตรฐาน ต 3.1  ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระ

                         การเรียนรู้อื่น  และเป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้
                         และเปิดโลกทัศน์ของตน
                                       Jeepney
  Jeepneys are the most popular means of public transportation in the Philippines.They were originally made from US military jeeps left over from World War II and are known for their flamboyant decoration and crowded seating. They have become a symbol of Philippine culture.
  When American troops began to leave the Philippines at the end of WWII, hundreds of surplus jeeps were sold or given to local Filipinos. The Filipinos stripped down and altered the jeeps to accommodate more passengers, added metal roofs for shade, and decorated the vehicles with vibrant colors and bright chrome hood ornaments.
   The jeepney rapidly emerged as a popular and creative way to re-establish inexpensive public transportation. Jeepneys can be flagged down much like taxis by holding out or waving an arm at the approaching vehicle. The elderly and women are always seated, children are sometimes allowed to ride for free if they agree to sit on the lap of the accompanying adult and not take up seating space. If the jeepney is full, passengers (only males) will also sometimes cling outside or sit on the roof instead .
   To ask the driver to stop the vehicle, passengers can rap their knuckles on the roof the jeepney, rap a coin on a metal handrail, or simply tell the driver to stop. Modern jeepneys often install buzzers and buttons to make it easier for the passengers.
·    Vocabulary :
flamboyant (adj.)            intended to be noticed, especially by being
                                       brightly coloured
strip down (v)                 to remove everything except for a particular
                                       piece of clothing or above a particular part of
                                       the body
alter (v)                           to change something, usually slightly, or to
                                       cause the characteristics of something to change
accommodate (v)            to provide with a place to live or to be stored in
vibrant (adj.)                   describes colour or light that is bright and strong
chrome (n)                      a hard blue-grey element used in combination
                                        with other substances to form a shiny covering
                                        on objects
emerge (v)                      to become known
cling (v)                           stick onto or hold something or someone tightly
rap (v)                             to hit or say something suddenly and forcefully
knuckle (n)                      one of the joints in the hand where your
                                        fingers  bend, especially where your fingers
                                        join on to the main part of your hand
buzzer (n)                        an electronic device that makes  a continuous
                                        low sound
·Questions for discussing  ( คำถามเพื่ออภิปราย )
รถสองแถวมีประโยชน์ในด้านการคมนาคมเพียงใด
·
Follow up activity (กิจกรรมเสนอแนะ )
ศึกษาปัญหาของการใช้บริการรถสองแถวในช่วงเวลาต่างๆ
·
การบูรณาการ : สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ฯ
·
แหล่งที่มาของข้อมูล :  http://en.wikipedia.org/wiki/Jeepney
                                  
http://dictionary.cambridge.org














กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม

·ทำไมต้องเรียนสังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม
·   กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ
การดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งในฐานะปัจเจกบุคคลและการอยู่ร่วมกันในสังคม การปรับตัวตามสภาพแวดล้อม การจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เข้าใจถึงการพัฒนา เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย กาลเวลา
ตามเหตุปัจจัยต่างๆ  เกิดความเข้าใจในตนเอง และผู้อื่น มีความอดทน อดกลั้น ยอมรับในความแตกต่าง และมีคุณธรรม สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ และสังคมโลก
·
·เรียนรู้อะไรในสังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม
·กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมว่าด้วยการอยู่ร่วมกันในสังคม ที่มีความเชื่อมสัมพันธ์กัน และมีความแตกต่างกันอย่างหลากหลาย เพื่อช่วยให้สามารถปรับตนเองกับบริบทสภาพแวดล้อม  เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ  มีความรู้ ทักษะ คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม  โดยได้กำหนดสาระต่างๆไว้ ดังนี้
·ศาสนา ศีลธรรมและจริยธรรม   แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ การนำหลักธรรมคำสอนไปปฏิบัติในการพัฒนาตนเอง และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เป็นผู้กระทำความดี มีค่านิยมที่ดีงาม พัฒนาตนเองอยู่เสมอ รวมทั้งบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและส่วนรวม
·หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิต   ระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบันการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ลักษณะและความสำคัญ             การเป็นพลเมืองดี ความแตกต่างและความหลากหลายทางวัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อ ปลูกฝังค่านิยมด้านประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สิทธิ หน้าที่ เสรีภาพการดำเนินชีวิตอย่าง  สันติสุขในสังคมไทยและสังคมโลก
·เศรษฐศาสตร์  การผลิต การแจกจ่าย และการบริโภคสินค้าและบริการ  การบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ  การดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ และการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน 
·ประวัติศาสตร์  เวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ วิธีการทางประวัติศาสตร์ พัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตถึงปัจจุบัน ความสัมพันธ์และเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆ ผลกระทบที่เกิดจากเหตุการณ์สำคัญในอดีต  บุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆในอดีตีความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย  แหล่งอารยธรรมที่สำคัญของโลก  
·ภูมิศาสตร์  ลักษณะของโลกทางกายภาพ  ลักษณะทางกายภาพ  แหล่งทรัพยากร และภูมิอากาศของประเทศไทย และภูมิภาคต่างๆ ของโลก การใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ความสัมพันธ์กันของสิ่งต่างๆ ในระบบธรรมชาติ ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น การนำเสนอข้อมูลภูมิสารสนเทศ  การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ที่มา http://search.handycafe.com/search?safe=on&ie=UTF-8&client=pub